วันที่ ๙ เดือน มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๙
ที่มา: จิตรลดา แก้วมณี.สรุปสังคมม.ปลาย.พิมพ์ครั้งที่ ๒.กรุงเทพฯ.น่านฟ้าการพิมพ์.๒๕๕๗.หน้า๔๕-๖๐
เรื่อง วันสำคัญทางศาสนา
วันสำคัญทางพุทธศาสนาถือเป็นวันสำคัญของชาติ คือวันมาฆบูชา
วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา เป็นวันซึ่งพุทธศาสนิกชนจะปฏิบัติศาสนาพิธีร่วมกัน
ระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญซึ่งเกิดขึ้นเมื่อครั้งพุทธกาล คือ
วันมาฆบูชา เป็นวันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ค่ำ เดือน ๓
(เดือนมาฆะ) เป็นวันที่พระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้า
๑๒๕๐ รูปได้ประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย
พระสงฆ์ทั้งหมดได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้า เป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖
และในวันนั้นพระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ เป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา มีประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นหลักใหญ่ ๓
ข้อ ซึ่งรวมอยู่ในโอวาทปาติโมกข์ คือ
การไม่ทำความชั่วทั้งปวง
กระทำแต่ความดี และทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์
วันวิสาขบูชา เป็นวันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน๖
(เดือนวิสาขะ) เป็นวันประสูติ ตรัสรู้
และเสด็จดับขันธปรินิพพาน ซึ่งเวียนมาบรรจบในวันและเดือนเดียวกัน จึงถือเป็นวันสำคัญของพระพุทธเจ้า มีหลักธรรมอันเกี่ยวเนื่องจากเหตุการณ์นี้
คือ ความกตัญญู อริยสัจ ๔ และความไม่ประมาท
วันอาสาฬหบูชา เป็นวันเพ็ญ
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ (เดือนอาสาฬหะ)
เป็นวันสำคัญเนื่องในโอกาสที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา (เทศน์กัณฑ์แรก) คือ
ธรรมจักกัปปวัตนสูตร เป็นผลให้เกิดมีพระสาวกรูปแรกในพุทธศาสนา ถือได้ว่าเป็นวันแรกที่มี พระพุทธ พระธรรม
และพระสงฆ์ ครบเป็นองค์พระรัตนตรัย
ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในบรรดาประเทศที่นับถือพุทธศาสนาประกาศให้มีวันอาสาฬหบูชา
และวันเข้าพรรษา หมายถึง
วันที่พระภิกษุในพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำในวัดหรือ
เสนาสนะที่คุ้มแดดคุ้มฝนได้แห่งหนึ่ง ไม่ไปค้างแรมในที่อื่น ตลอด ๓ เดือน การเข้าพรรษาเป็นพุทธบัญญัติ
เป็นวันสำคัญของพุทธศาสนาและมีความสำคัญต่อพุทธศาสนิกขนด้วยเหตุผลที่ว่า
เมื่อพระภิกษุหยุดจาริกไปยังที่อื่นๆ
แต่พักประจำในวัดแห่งเดียวตามพุทธบัญญัติ
เป็นโอกาสที่พระภิกษุจะได้สงเคราะห์กุลบุตรที่ประสงค์จะอุปสมบทเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย
และสงเคราะห์พุทธบริษัททั่วไป
เป็นเทศกาลที่พุทธศาสนิกชนงดเว้นอบายมุขและความชั่วต่างๆ และในช่วงเวลาเข้าพรรษาปฏิบัติตนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี บำเพ็ญทาน รักษาศีล
ฟังธรรมและเจริญภาวนามากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น